top of page
Search

วัดค่าคลอรีนในน้ำเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม

Writer's picture: หมอนิ้ง เซียนไก่ Gunchisaหมอนิ้ง เซียนไก่ Gunchisa

คลอรีน คืออะไร ?????

แล้วทำไมเราต้องวัดค่าคลอรีน ?????

วันนี้จะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ การวัดค่าคลอรีนในน้ำที่เตรียมให้กับสัตว์กิน ,,,

.

ไก่ หรือสัตว์ปีก ไม่กินน้ำที่ผ่านการใส่คลอรีนได้ไหม ? คำตอบคือ ได้นะ ถ้าเรามั่นใจว่าแหล่งน้ำที่เราจะนำมาให้สัตว์กิน สะอาดจริง ปลอดภัยชัวร์ เสมือนน้ำดื่มคนกิน *ซึ่งมันยากมากกกก ที่เราจะนำน้ำดื่มสำหรับคนมาให้ไก่กิน เพราะคงจะสิ้นเปลืองงบประมาณการเลี้ยงน่าดู 💸

.

แล้วคลอรีน คืออะไร ?

คลอรีน (chlorine) เป็นสารอนินทรีย์ในกลุ่มแฮโลเจน ที่ใช้สำหรับเป็นสารฆ่าเชื้อ (sanitizer) ซึ่งนิยมใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ รารวมทั้งจุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) การใช้คลอรีนมีปลอดภัยสูง และสามารถสลายตัวได้รวดเร็วในธรรมชาติ ราคาถูก ข้อเสียของคลอรีน คือมีกลิ่น และ มี pH เป็นด่าง ทำให้มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง 🎇

.

ในน้ำดื่ม น้ำใช้ในกระบวนการผลิต เช่น น้ำหล่อเย็นอาหารกระป๋อง หลังการฆ่าเชื้อในหม้อฆ่าเชื้อ (retort) น้ำที่ใช้หลอมละลาย (thawing) อาหารแช่เยือกแข็ง (frozen food)

ใช้ในการทำความสะอาดวัตถุดิบ ทำความสะอาดผิวอาหาร เช่น ผักผลไม้เนื้อสัตว์ อาหารทะเล

ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อ (sanitizer) เพื่อการฆ่าเชื้อเครื่องครัว เครื่องอุปกรณ์แปรรูปอาหารและเครื่องดื่มพื้นผิวที่ต้องสัมผัสกับอาหาร (food contact surface) รวมทั้งเสื้อผ้า ถุงมือ รองเท้า พนักงาน

ใช้ฆ่าเชื้อพื้นโรงงานบริเวณที่ผลิต

ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย (waste water treatment)

.

นั่นนะคือบทบาทของคลอรีน สำหรับน้ำที่เราจัดเตรียมสต็อกให้สัตว์กินนั้นก็ควรมีการฆ่าเชื้อ หากแหล่งที่มาของน้ำนั้นมาจาก น้ำบ่อ คลอง แม่น้ำ หรือน้ำผิวดินนั่นเอง (เว้นว่าเป็นน้ำบาดาล อาจไม่ต้องใช้คลอรีนก็ได้)

.

#การวัดค่าคลอรีน

📣เหตุผลที่เราต้องวัดค่าคลอรีน เพราะจะทำให้เรามั่นใจได้ว่าน้ำที่เราเตรียมไว้ให้สัตว์กิน ผ่านการฆ่าเชื้อได้ในระดับหนึ่งแล้ว

***ถ้าจะให้รู้ชัวร์ว่าน้ำนั้นมีเชื้อหรือไม่ ก็ต้องนำน้ำไปส่งตรวจแลปหรือห้องปฏิบัติการ เพื่อทดสอบหาเชื้อโรคในน้ำ แต่ว่าจะใช้เวลารอผลการตรวจนานพอสมควร สัตว์ที่เราเลี้ยงต้องกินน้ำทุกวัน และเป็นปัจจัยหลักที่สัตว์จะขาดไม่ได้ ดังนั้นการดูผลจากการวัดค่าคลอรีน จึงจะให้เราสามารถรู้ได้เร็ว หากเจอปัญหา และแก้ได้ทัน

.

👉ปกติเราสามารถหาซื้อชุดทดสอบค่าคลอรีนได้ที่ร้านขายอุปกรณ์สัตว์น้ำ หรือใครจะสั่งซื้อผ่านนายหญิง ก็ยินดีนะคะ มีจำหน่ายค่ะ อิอิ 😇

และที่ชุดทดสอบจะมีค่ามาตรฐาน และแทบสีให้เทียบ

👇

สำหรับน้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อ ชนิดที่ว่าจุลินทรีย์ก่อโทษเกิดและเพิ่มปริมาณได้ยากนั้น ก็ต้องได้ค่า 2-5 ppm (สามารถวัดได้จากกระดาษเทียบสี)

.

แต่น้ำที่กำลังจะเข้าสู่เล้าเลี้ยงสัตว์ ให้คลอรีนลดลงเหลือเพียง 0.2-0.5 หรือ 1 ppm ก็พอ เพราะถ้าค่าสูงกว่านี้ อาจจะทำให้สัตว์เกิดอาการมูลเหลวได้นะคะ เพราะสัตว์ได้กินน้ำที่มีปริมาณคลอรีนสูงเกินไป

.

ดังนั้นเราจะต้องมีการจัดการเรื่องถังสต็อกน้ำให้ดี และเพียงพอต่อความต้องการของน้ำที่สัตว์ได้กิน หลายวันติดต่อ

#ท้ายนี้แนะนำให้มีการวัดดูค่าคลอรีนในน้ำทุกวันนะคะ (อาจขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในถังสต็อกน้ำด้วยค่ะ)

.

ไว้จะมาบอกในบทความต่อไปนะคะ

วันนี้เท่านี้ก่อนค่ะ เกรงว่าจะยาวเกินไป อิอิ

หากท่านใดมีข้อสงสัยเพิ่มเติม

สอบถามได้ค่ะ

.

#เลี้ยงสัตว์ปีก #ใส่ใจและเก็บทุกรายละเอียด


2,885 views0 comments

Recent Posts

See All

การสังเกตลักษณะภายนอกของไก่

ลักษณะภายนอกของไก่หรือสัตว์ปีกบางชนิด บอกอะไรเราได้บ้าง ??? เลือกเฉพาะที่เด่นๆ และที่เป็นจุดสังเกตที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงนะคะ 👉...

ไข่สวยยกแผง ทำยังไง ? นายหญิงนักสัตวบาล มีคำตอบ!

🐣 อยากเก็บไข่สวยทุกวัน อยากเก็บแต่ไข่ดี เปลือกหนา สีสด ไม่มีไข่ขี้ติดเปลือก ผิวสวยเกลี้ยง ได้รูปทรงไข่ . 🐣 ใครๆก็อยากได้ไข่แบบนี้...

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page